วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมประจำหน่วยที่ 2 เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


ข้อที่ 1 กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ กระบวนการจัดการกับข้อมูลข่าวสาร โดยนำข้อมูลดิบให้ผ่านกระบวนการต่างๆ จนเป็นสารสนเทศที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง การประมวลผลและการเผยแพร่สารสนเทศ

ข้อที่ 2 จงให้คำนิยามของสิ่งต่อไปนี้ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร 1) ข้อมูล 2) สารสนเทศ 3) ความรู้
ตอบ 2.1.ข้อมูล หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลเช่นคะแนนสอบ
        2.2.สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการประมวลผล
        2.3.ความรู้ หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนเข้าใจ แล้วนำความเข้าใจนั้นมาปฏิบัติหรือประยุกต์ให้  เกิดประโยชน์
            ความสัมพันธ์ คือ เรามีข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผลแล้วจะเป็นสารสนเทศ ในขณะนั้นเมื่อเราประมวลผลเกิดการคิดวิเคราะห์ เราก็จะได้ความรู้ไปใช้

ข้อที่ 3 จงยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของนักเรียนเองว่า ความรู้ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างไร
ตอบ การสอบ คือ เราใช้ความรู้ที่เรามีตัดสินใจว่า เราจะตอบข้อไหน

ข้อที่ 4 การเก็บรักษาข้อมูลและสารสนเทศมีวิธีการอย่างไร และเก็บไว้เพื่อประโยชน์อะไร
ตอบ    1. การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
 2. การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อเก็บรักษาข้อมูล หรือนำไปแจกจ่าย จึงควรคำนึงถึงความจุและความทนทานของสื่อบันทึกข้อมูล
 3. การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
4. การปรับปรุงข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งาน เช่น ในการตัดสินเพื่อดำเนินการ ดังนั้นข้อมูลจึงต้องมีการปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
            เก็บไว้เพื่อ ไม่ให้เกิดการสูญหายหรือชำรุดและมีการสำรองไว้

ข้อที่ 5 การเผยแพร่สารสนเทศมีวัตถุประสงค์อย่างไร และต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
ตอบ    วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการเผยแพร่และต้องคำนึงถึง กลุ่มคนที่เราต้องการให้รับรู้และให้ได้ประโยชน์

ข้อที่ 6 จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อนักเรียนพบปัญหา ตามปกตินักเรียนจะหาคำตอบให้แก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดบ้าง จงบอกมา 3 วิธี พร้อมทั้งบอกว่าแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ตอบ    ปัญหา คือ เลิกเรียนก่อนเวลาจะโทรศัพท์ให้แม่มารับ พบว่าแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หมด
            วิธีแก้ปัญหา คือ
            1.ยืมโทรศัพท์ของเพื่อน ข้อดี ไม่ได้จ่ายเงิน ข้อเสีย ต้องพึ่งพาคนอื่นและทำให้เงินในโทรศัพท์ของเพื่อนเหลือน้อย
            2.โทรศัพท์ตู้สาธารณะ ข้อดี แม่สามารถมารับได้ทันที ข้อเสีย ต้องจ่ายค่าโทรศัพท์
            3.นั่งรอแม่จนถึงเวลาเลิกเรียน ข้อดี ไม่ได้จ่ายเงินและไม่ได้ทำให้เพื่อนลำบาก  ข้อเสีย อาจจะนั่งรอแม่นานและอาจอยู่คนเดียว

ข้อที่ 7 ปัญหาง่ายๆในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เป็นระบบ เพราะ ถ้าเราทำอะไรอย่างมีระบบจะทำให้ง่ายแก่การแก้ปัญหา

ข้อที่ 8 การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร จงอธิบาย และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ    ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาประเด็นสำคัญของปัญหา
            ขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางการแก้ปัญหา
            ขั้นตอนที่ 3 กำหนดรายละเอียดในการแก้ปัญหา
            ขั้นตอนที่ 4 พิจารณารายระเอียดว่าเหมาะสมหรือไม่
ขั้นตอนที่ 5 พิจารณามาตรการแก้ปัญหาว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอให้กลับไปขั้นตอนที่ 1
ประโยชน์ คือ ช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ข้อที่ 9 จงยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการแก้ปัญหาที่นักเรียนได้พบเห็นมาโดยเล่าเรื่องราวพอสังเขปและวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ   ได้รับเงินมาจำนวนมากไม่ทราบว่าจะเก็บไว้ที่ไหน จึงนำไปฝากที่ตู้รับฝากเงินอัตโนมัติเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพราะ ตู้รับฝากเงินอัตโนมัติมีความปลอดภัยเหมาะสมแก่การฝากเงิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น