วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ธนบัตรไทย เจ้าคะ


ธนบัตรในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทน โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396 และคงใช้ต่อมาทั้งสิ้น 3 รุ่น



ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ "ตั๋วกระดาษ" ราคา 1 อัฐ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2417 เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อัฐกระดาษ" ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2432-2442 ทรงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, ธนาคารชาเตอรด์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ให้สามารถออกธนบัตรของตัวเองได้ เรียกว่า "แบงก์โน้ต" หรือ "แบงก์" นับว่าเป็น "บัตรธนาคาร" รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย จนถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ "ธนบัตร" แบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ




ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ดาวหางงงงงงงงง


ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร





http://th.wikipedia.org/wiki/

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

วันกองทัพไทย


วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)


จาก http://th.wikipedia.org/wiki/




วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

๑๗ มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


 เดือนธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๑ สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด"วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"  
          ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดว่าควรที่จะเป็น วันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จะเป็นการเหมาะสมกว่า ซึ่งวันนั้นตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๖   ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๒  ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว 

          ดังนั้นวันที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๓ จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

         
นับแต่นั้นมาจังหวัดสุโขทัย และทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ ๑๗ มกราคม เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาวไทย   กิจกรรมหลักประกอบด้วย พิธีสักการะ บวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่ และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ  โดยสถานที่จัดงานของจังหวัดสุโขทัย คือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ส่วนสถานที่จัดงานของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ  ณ บริเวณลานพ่อขุน และหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 



จาก http://www.lib.ru.ac.th/pk/thegreate11.html

ต้นโกงกางใบใหญ่


ที่อยู่อาศัย :บริเวณดินอ่อนริมชายฝั่ง น้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ

ชื่อพื้นเมือง :โกงกางใบใหญ่ กงกอน(ชุมพร) กงกางนอก(เพชรบุรี) กงเกง(นครปฐม) พ้งกางใบใหญ่(ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir

ชื่อวงศ์ : RHIZO PHORACAE

โกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เปลือกของลำต้นมีสีเทาเข้มถึงดำ รอบโคนต้นมีรากค้ำยัน พยุงลำต้นให้แข็งแรง มีใบเดียว เรียงเป็นคู่ตรงกันข้าม แผ่นใบอวบใหญ่รูปรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีของใบสีเขียวอ่อน มีจุดดำทั่วท้องใบ ก้านใบสีเขียวออกเหลือง มีใบเกร็ดสีแดงหุ้มยอดอ่อน ดอกเป็นดอกช่อจำนวน 4-16ดอก ก้านช่อดอกยาว 5-10cm. มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือน มี.ค. พ.ค. มีผลเดียว คล้ายลูกข่าง กลมจานมน กว้างรีมายังปลาย สีน้ำตาล ผลออกเป็นฝักอยู่บนต้นสีเขียวอ่อนมีตุ่มเล็กๆ ทั่วฝัก
                ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำเสา เยื่อกระดาษ ใบอ่อนใช้พอกแผลสด ห้ามเลือดและน้ำฝาดจากเปลือกใช้ย้อมผ้า  แห อวน หนัง



จาก http://202.143.144.83/~pojanart/101.html

ป่าชายเลน



ลักษณะของป่าชายเลน
  
เป็นป่าที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำทะเล ผสมผสานกันเป็นน้ำกร่อย หากบริเวณนั้นเป็นอ่าวคลื่นลมสงบตะกอนที่มากับแม่น้ำ จะตกตะกอนลงสู่พื้น สะสมรวมตัวเป็นหาดเลนกว้างใหญ่ ลูกไม้ชายเลน เช่น โกงกางจะลอยมาตามน้ำลงปักในพื้นเลนก่อเกิดเป็นพันธุ์ไม้บุกเบิกรากดักตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นสันดอน มีไม้ชายเลนอื่นๆมาอาศัยพัฒนากลายเป็นป่าชายเลน ป่าชายเลนของไทยกระจัดกระจายอยู่ตามชายฝั่งยาวประมาณ 927 กิโลเมตร ในเขตชายฝั่งทะเลภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณ และสัตว์นานาชนิด





ข้อมูลจาก http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-8161.html

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556


  ลักษณะของคนที่มีสุขภาพจิตดี
คนที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 
1. เป็นคนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
2. เป็นคนมีความรักในตนเองและผู้อื่น
            2.1 มีความพอใจในตนเอง  
            2.2 มีความรักในตัวผู้อื่น
 3. เป็นคนยอมรับและสามารถเผชิญกับความจริงในชีวิตได้
 4.  เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
 5.  เป็นคนมีความรับผิดชอบ
 6.  เป็นคนลักษณะยืดหยุ่น
 7.  เป็นคนเข้ากับคนอื่นได้ง่าย


จาก http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-10876.html

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบหายใจ จ้า


ระบบทางเดินหายใจ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลมปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่
สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใบ





จาก  http://th.wikipedia.org/wiki/